Course Overview
***** รายวิชานี้เรียนผ่านแพลตฟอร์ม วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ *****
คำอธิบายหลักสูตร
การสร้างธุรกิจและแรงบันดาลใจในการดึงศักยภาพและความสามารถของผู้สูงวัยให้สามารถขับเคลื่อน หรือ พึ่งพาตนเองจากการประกอบธุรกิจใหม่หรือการสานต่อธุรกิจเดิมของตนเอง ด้วยเรื่องราวของ คุณพนมกร นามจันทร์ คณะกรรมการสหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทา เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ที่ส่งต่อความยั่งยืนทางสุขภาพและอาหารสู่สังคม คุณพรรษา บัวมะลิ อดีตข้าราชการครู ที่เปลี่ยนบ้านของตนเองให้เที่ยวได้ในนามของศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อบ้านใบบุญ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และเรื่องราวของสุภาฟาร์มผึ้ง ผู้เริ่มต้นจากงานอดิเรกเลี้ยงผึ้งยามว่าง สู่ความสำเร็จทางธุรกิจที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น
สถานที่เรียน
เรีpนได้ทุกที่ ทุกเวลา ตลอดชีพ
ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย
ผู้สนใจทั่วไป, ผู้สูงอายุ, ผู้ประกอบการออนไลน์
วัตถุประสงค์
- ผู้เรียนสามารถสรุปแรงบันดาลใจ กรอบความคิด การปรับตัวในสถานการณ์ปัจจุบัน ของตัวอย่างคนมีดี
- ผู้เรียนสามารถยกตัวอย่างกรอบความคิด แนวทางปฏิบัติ และการปรับตัวในสถานการณ์ปัจจุบัน ของตัวอย่างคนมีดีได้
- ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนการประกอบธุรกิจใหม่ของตนเอง หรือการสานต่อธุรกิจเดิมได้
จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้
ชั่วโมงการเรียนรู้ทั้งหมด: 1 ชั่วโมง
ชั่วโมงการเรียนรู้ต่อสัปดาห์: 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
ภาษาที่ใช้ในการสอนผ่านระบบออนไลน์
ภาษาไทย
เนื้อหาและหัวข้อในหลักสูตร
EP.1) คนมีดี: ปลูกฝัง young ยั่งยืน
- เรื่องราวของคุณพนมกร นามจันทร์ คณะกรรมการสหกรณ์การเกษตรยังยืนแม่ทา เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ ที่ส่งต่อความยั่งยืนทางสุขภาพและอาหารสู่สังคม
EP.2) คนมีดี: ศูนย์การเรียนรู้ภูมิ ปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ วัยเกษียณเปลี่ยนบ้านให้เที่ยวได้
- เรื่องราวของคุณพรรษา บัวมะลิ ผู้เปลี่ยนบ้านของตนเองให้เที่ยวได้ในนามของศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อบ้านใบบุญ
EP.3) คนมีดี: สุภาฟาร์มผึ้งงานที่ไม่มีวันเกษียณ
- เรื่องราวของสุภาฟาร์มผึ้ง ผู้เริ่มต้นเลี้ยงผึ้งยามว่างสู่ความสำเร็จทางธุรกิจที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น
กิจกรรมในรายวิชา การวัดผลและประเมินผล/เกณฑ์การให้คะแนนเพื่อรับใบประกาศนียบัตร
แบบทดสอบก่อนเรียน 0% แบบทดสอบระหว่างเรียน 0%
กิจกรรม ส่งงาน 0% แบบทดสอบหลังเรียน 100%
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้