Course Overview
หลักการและทฤษฎีด้านการออกแบบ การเข้าใจมุมมอง 3 มิติ หลักการเขียนแบบ 3 มิติ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโมเดล 3 มิติเพื่อสร้างชิ้นงาน โปรแกรมที่เป็น Freeware , License และความแตกต่างของความสามารถของโปรแกรมนั้นๆ หลักการและทฤษฎีด้านวัสดุสำหรับการพิมพ์ 3มิติ เส้น Filament ชนิดต่างและคุณสมบัติ ลำดับการออกแบบด้วยโปรแกรม ขั้นตอนการขึ้นรูปด้วยเทคนิคต่างๆ การใช้อุปกรณ์เครื่องมือวัดต่างๆ เช่น เวอร์เนีย เป็นต้น แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบชิ้นงานและตัวอย่างงานที่ไม่สามารถหาได้ในท้องตลาด หลักการออกแบบเกี่ยวกับทางกล การทดแรง การใช้เฟือง การออกแบบเฟืองทดแรงต่างๆ ข้อต่อ ข้อพับ สลัก โปรแกรมวิเคราะห์ความแข็งแรงของชิ้นงาน เทคนิคการพิมพ์โมเดล 3 มิติ การจัดวางชิ้นงานก่อนพิมพ์เพื่อให้ผลพิมพ์ออกมาดีที่สุด
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (LO)
-
- รู้หลักการมุมมอง 3 มิติ และหลักการเขียนแบบเบื้องต้น รู้จักอุปกรณ์วัดระยะต่าง ๆ ที่จําเป็นในการออกแบบวัตถุ ชิ้นงาน รู้หลักการด้านวัสดุ ชนิดของพลาสติกแบบต่าง ๆ คุณสมบัติกับการใช้งาน รู้จักประเภทของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) รู้จักโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบขึ้นวัตถุ 3มิติ รู้วิธีคิดในการออกแบบเชิงสรางสรรค์ รู้การจัดวางวัตถุในแบบต่าง ๆ ก่อนพิมพ์
- สามารถอ่านและเข้าใจในงานเขียนแบบเบื้องต้นได้ และบอกถึงความแตกต่างในมุมมองต่าง ๆ ของวัตถุ 3 มิติ สามารถนำอุปกรณ์เพื่อการวัดระยะของชิ้นงานได้ และสามารถบอกถึงความแตกต่างของเครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ ได้
- สามารถใช้งานโปรแกรมเพื่อการออกแบบขึ้นรูป 3 มิติได้ในวิธีต่าง ๆ ดังนี้
– การนำรูปเลขาคณิต 2 มิติเพื่อขึ้นรูปเชิง 3 มิติ และปรับเปลี่ยนขนาดได้ – การนำวัตถุรูปทรง 3 มิติ เพื่อขึ้นรูปและปรับเปลี่ยนขนาดรูปทรงได้ – การหมุนปรับชิ้นงาน วัตถุที่ขึ้นรูป เพื่อการจัดวางตำแหน่งให้ได้ชิ้นงานได้ – การผสมผสาน รวมชิ้นวัตถุ แยกชิ้นวัตถุ เพื่อให้ได้ชิ้นงานตามที่ต้องการได้ – การลบคม เฉือนแต่งชิ้นงาน เพื่อเติมหรือปรับรายละเอียดของชิ้นงานให้เหมาะสมได้ - สามารถออกแบบโมเดลขึ้นเป็นชิ้นงานที่สามารถนำไปใช้งานจริง สามารถเลือกวัสดุที่เหมาะสมกับงานพิมพ์ได้และ สามารถการปรับแต่งโมเดลเพื่อความเหมาะสมในการพิมพ์ได้
Features
- คำบรรยาย : ภาษาไทย
- ปีที่พัฒนา : พ.ศ. 2563